ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: องค์ประกอบต่อเติมครัวหลังบ้าน พื้น ผนัง ฝ้า หลังคา เคาน์เตอร์  (อ่าน 433 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 426
    • ดูรายละเอียด
การต่อเติมครัวหลังบ้าน หรือต่อเติมครัวนอกบ้านทั่วไป ย่อมมีส่วนประกอบต่างๆ ที่เจ้าของบ้านต้องทราบเป็นแนวทางในภาพรวม เพื่อต่อยอดในการค้นคว้าข้อมูลสำหรับตัดสินใจเลือกให้ลงตัวกับการใช้งานและความต้องการ รวมถึงสามารถสื่อสารกับช่าง ผู้รับเหมา นักออกแบบได้อย่างราบรื่น ดังต่อไปนี้…

1.  ทำพื้นต่อเติมครัวหลังบ้าน รองรับด้วยโครงสร้างแบบไหน ?

การต่อเติมครัวหลังบ้าน โดยทั่วไปจะหล่อพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจก็คือ ใต้พื้น ค.ส.ล. นั้น มีโครงสร้างอะไรรองรับ

หล่อพื้น ค.ส.ล. แบบไม่มีเสาเข็มรองรับ พื้นจะทรุดเร็วกว่าแบบอื่นๆ เหมาะกับกรณีที่พื้นบริเวณนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการลงเสาเข็ม เช่น งบประมาณจำกัด มีงานระบบใต้ดินขวางอยู่ หรือเป็นพื้นที่ถมดินไว้ได้ไม่นาน ยังมีแนวโน้มทรุดอีกมากจึงต่อเติมแบบชั่วคราวไปก่อน โดยทั่วไปจะเป็นการหล่อพื้นค.ส.ล.แบบวางบนคาน หรือใช้อีกทางเลือกคือบดอัดดินให้แน่นแล้วปูบล็อกหรือกระเบื้องคอนกรีตแทน ส่วนประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากพื้นอาจมีแค่เคาน์เตอร์ครัวพร้อมอ่างล้างจาน และกันสาดติดผนังสำหรับกันแดดฝนเท่านั้น เพื่อลดภาระน้ำหนักที่จะเร่งให้เกิดการทรุดเร็วขึ้น

หล่อพื้น ค.ส.ส. พร้อมเสาเข็ม หากลงเสาเข็มสั้นจะช่วยชะลอการทรุดได้ แต่ในอนาคตพื้นครัวต่อเติมก็จะทรุดห่างจากระดับพื้นบ้านเดิมไปเรื่อยๆ ในทางกลับกันถ้าเลือกลงเสาเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง พื้นครัวจะทรุดน้อยมากหรือแทบไม่ทรุดเลย การลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งจะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็อาจคุ้มค่ากว่าในระยะยาว ทั้งนี้ ในการลงเสาเข็มจะต้องไม่กระทบกับงานระบบที่ฝังอยู่ใต้ดินในตำแหน่งนั้นๆ (ถ้ามี)



2. ต่อเติมครัวหลังบ้าน ทำผนังแบบไหนดี

-    ไม่มีผนัง หรือมีผนังแค่บางส่วน โดยอาจทำผนังเฉพาะครึ่งล่างหรือทำผนังไม้ระแนงโปร่ง ซึ่งมักเรียกกันว่า “ครัวเปิด” ข้อดีคือความโปร่งโล่งที่ไม่ต้องกังวลเรื่องระบายอากาศ และยังลดภาระน้ำหนักที่โครงสร้างต้องรองรับ แต่ก็อาจปนเปื้อนด้วยฝุ่น มลพิษ ฝนสาดจากนอกบ้าน และมักมีสัตว์หรือแมลงมารบกวนได้ง่าย ดังนั้น เรื่องการจัดเก็บ จัดวางสิ่งของ อุปกรณ์ วัตถุดิบต่างๆ ต้องให้มิดชิด เป็นสัดส่วน หรืออาจนำมาเก็บไว้ภายในบ้านแทน
-    ทำผนังทึบล้อมรอบมิดชิด เป็นสัดส่วน หรือที่เรียกกันว่า “ครัวปิด” ซึ่งจะดูแลเรื่องความสะอาดได้ง่าย ลดปัญหาเรื่องสิ่งปนเปื้อนภายนอกบ้าน โดยสามารถใช้พัดลมดูดอากาศ เครื่องดูดควันเป็นตัวช่วยระบายอากาศ รวมถึงทำหน้าต่าง ช่องเปิด ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่ขัดกับข้อกำหนดทางกฎหมายของพื้นที่นั้นๆ



3. เลือกหลังคาต่อเติมครัวหลังบ้าน

อาจเป็นหลังคาแบบมีเสารับ กับอีกแบบคือติดตั้งหลังคากันสาดยึดกับตัวบ้านเดิมซึ่งมีข้อดีคือลดภาระน้ำหนักของส่วนต่อเติม ทั้งนี้ เจ้าของบ้านอาจเลือกทำหลังคาโปร่งแสง อะคริลิก หรือไฟเบอร์กลาส เพื่อให้ดูสว่างไสวด้วยแสงธรรมชาติ ในทางกลับกัน หากต้องการหลังคาวัสดุทึบแสงเพื่อกันทั้งฝนและแดดจะนิยมวัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา อย่างหลังคาลอนคู่ หลังคาเมทัลชีท โดยอาจเพิ่มรายละเอียดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน อย่างการทำช่องแสง Skylight บางส่วนช่วยรับแสงจากธรรมชาติ การติดตั้งฉนวนกันร้อนกันเสียงใต้หลังคา เป็นต้น

กันสาด หลังคากันสาด หลังคาต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัวนอกบ้าน ภาพ: ตัวอย่างการต่อเติมครัวโดยทำหลังคากันสาด (บนซ้าย) และแบบหลังคามีเสารองรับ (ขวา) รวมถึงตัวอย่างวัสดุที่เหมาะกับการทำหลังคาต่อเติมครัว (ล่างซ้าย)



4. ต่อเติมครัวหลังบ้าน ทำเพดานอย่างไร

การต่อเติมครัวหลังบ้าน บางครั้งอาจไม่ต้องมีฝ้าเพดานเพื่อให้ดูโปร่งโล่ง หรือรับแสงธรรมชาติจากหลังคาโปร่งแสงได้ ในทางกลับกัน หากต้องการให้เพดานดูเรียบร้อยสวยงาม ก็สามารถติดตั้งฝ้าเพดานได้ กรณีเป็นครัวเปิดซึ่งไม่มีผนัง ทำผนังโปร่ง หรือมีผนังบางส่วน อาจเลือกใช้วัสดุฝ้าที่ทนความชื้นได้ เช่น ฝ้ายิปซัมทนชื้น ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ ข้อดีอีกอย่างของการมีฝ้าเพดานในห้องครัวคือ สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้วสำหรับปูบนฝ้าเพดานเพิ่มเติมได้



5. ต่อเติมครัวหลังบ้านครั้งนี้ ทำเคาน์เตอร์ครัวไทยหรือครัวฝรั่ง ?

เคาน์เตอร์ครัวไทย หล่อคอนกรีต ก่ออิฐ หรือแผ่นคอนกรีตมวลเบา หรือที่มักเรียกกันว่า “เคาน์เตอร์ครัวปูน” รองรับการโขลกสับสไตล์อาหารไทย วัสดุปิดผิวควรทนต่อสารต่างๆ ทั้งวัตถุดิบและสารทำความสะอาดที่ขจัดความมัน คราบเปื้อนได้ดี ทางเลือกในการตกแต่งเคาน์เตอร์ครัวไทยมักไม่หลากหลายเท่าครัวฝรั่ง หากต้องการเน้นความสวยงามด้วยอาจต้องพึ่งนักออกแบบในการเลือกวัสดุและออกแบบรายละเอียดต่างๆ ให้ลงตัว


จะเห็นได้ว่าการพิจารณาส่วนประกอบในการต่อเติมครัวให้ตรงตามความต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป และบางครั้งปัจจัยของแต่ละส่วนประกอบก็สัมพันธ์กัน อย่างกรณีทำพื้นแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ ควรเน้นน้ำหนักเบาช่วยชะลอการทรุดของพื้น โดยอาจเลือกทำครัวโปร่ง ทำหลังคากันสาดยึดกับผนังบ้านเดิม และทำเคาน์เตอร์ครัวไทยด้วยวัสดุน้ำหนักเบา เช่น อิฐมวลเบา แผ่นเคาน์เตอร์มวลเบา ส่วนกรณีทำเคาน์เตอร์ครัวฝรั่ง จะต้องทำเป็นครัวปิด หากเน้นตกแต่งวัสดุสวยงาม ราคาสูง สวยงาม ควรลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องการทรุดระยะยาว



องค์ประกอบต่อเติมครัวหลังบ้าน พื้น ผนัง ฝ้า หลังคา เคาน์เตอร์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/